ss อาหารเสริม สารสกัดจากแครนเบอร์รี่ Cranberry Extract ~ HEALTH 2 U สาระสุขภาพ

อาหารเสริม สารสกัดจากแครนเบอร์รี่ Cranberry Extract


อาหารเสริม สารสกัดจากแครนเบอร์รี่ Cranberry Extract คืออะไร

อาหารเสริม สารสกัดจากแครนเบอร์รี่ Cranberry Extract ประกอบด้วยสาร Flavonoids ที่มีชื่อว่า Proanthocyanidins หรือ PACs ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยในการยับยั้งการจับตัวของแบคทีเรียบางชนิดที่ผนังเซลล์ นักวิจัยได้ค้นพบและจำแนกสาร Phytochemicals ชนิดพิเศษที่มีอยู่เฉพาะในแครนเบอร์รี่ ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในการยับยั้งการจับตัวของแบคทีเรีย เช่น เชื้อ E. coli ที่Epithelial Cells (เช่นที่ทางเดินปัสสาวะ) จึงช่วยให้ทางเดินปัสสาวะมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคปัสสาวะอักเสบ นอกจากนี้   แครนเบอร์รี่ ยังเป็นแหล่งของกรดอินทรีย์ชั้นเยี่ยม อุดมไปด้วยสาร Flavonoids เป็นแหล่งของสาร Antioxidants ตามธรรมชาติและมีปริมาณ Phytonutrients สูง

สารสกัดจากแครนเบอร์รี่


แครนเบอรี่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium macrocarpon เป็นผลไม้ตระกูลเบอรี่ มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยที่นิยมปลูกเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลแครนเบอรี่มีสีแดงสด และมีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถนํามาบริโภคทั้งในรูปผลสด ผลตากแห้ง และน้ำคั้น
แครนเบอรี่เป็นผลไม้ที่ประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมีที่สําคัญในแครนเบอรี่ได้แก่ โปรแอนโธไซยานิดิน (Proanthocyanidins), คาเทชิน (Catechins), ไตรเทอปีนอยด์ (Triterpenoids), กรดควินิค (Quinic acid), กรดฮิพพิวริค (Hippuric acid) และแทนนิน (Tannin) โดยเฉพาะสารโปรแอนโธไซยานิดิน สามารถป้องกันการยึดเกาะของแบคทีเรียกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ด้วยเหตุนี้แครนเบอรี่ จึงถูกนําไปใช้ในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แผลในกระเพาะอาหาร และการเกิดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งมีรายงานว่าการบริโภคแครนเบอรี่สามารถลดการเจริญเติบโตของเซลลมะเร็งเต้านมในสัตว์ทดลอง ความเป็นกรดอ่อนๆของแครนเบอรี่ยังช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไตได้อีกด้วย
นอกจากนี้มีรายงานทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับการบริโภคแครนเบอรี่ว่าสามารถลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งปอด และอื่นๆ ได้อีกมากมาย 

สรุปคุณประโยชน์ของแครนเบอรี่กับงานวิจัยทางการแพทย์

ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
1. สารสกัดจากแครนเบอรี่นั้นถูกใช้ในการรักษาและป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTIs) มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ในด้านกลไกในการยับยั้งการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะนั้น ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีงานวิจัยสนับสนุนว่า Proanthocyanidins (cPACs) ที่พบมากในแครนเบอรี่นั้นจะไปยับยั้ง flagella ที่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ของ Uropathogenic Escherichia coli (UPEC) ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนที่และจับรวมกลุ่มกันของ UPEC ลดลง จึงช่วยป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTIs) ได้ 
2. ผู้หญิงที่ได้รับสารสกัดจากแครนเบอรี่ต่อเนื่องกัน สามารถจะช่วยยับยั้งการยึดเกาะตัวของ E. coli  ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p value <0.0001) เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับสารสกัดจากผลแครนเบอรี่ 
3. เด็กและสตรีผู้สูงอายุ เมื่อรับประทานน้ำแครนเบอรี่ต่อเนื่องกัน สามารถลดการติดเชื้อซ้ำๆ บ่อยๆ ของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้อย่างมีนัยสำคัญ 
4. การรับประทานสารสกัดจากแครนเบอรี่ 500 มิลลิกรัม เพื่อเปรียบเทียบกับยา Trimethoprim ในการป้องกันการเป็นซ้ำของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในผู้หญิงวัยสูงอายุ เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าสารสกัดจากแครนเบอรี่สามารถป้องกันได้ แต่ได้ผลต่ำกว่ายา Trimethoprim อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุให้การยอมรับสารสกัดจากแครนเบอรี่มากกว่ายา Trimethoprim  เนื่องจากสารสกัดจากแครนเบอรี่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งให้ผลข้างเคียงต่ำกว่าในการทำให้เชื้อดื้อยา และการเกิดการติดเชื้อราและ Clostridium difucile ซ้ำซ้อน เมื่อเทียบกับยา Trimethoprim อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย 
5. การดื่มน้ำแครนเบอรี่ 500 มิลลิลิตร แล้วดื่มน้ำตาม 1,500 มิลลิลิตร (1.5 ลิตร) ในผู้ชายแอฟริกาใต้ สามารถป้องกันการตกตะกอนของ Calcium oxalate ที่เป็นสาเหตุของนิ่วที่ไตได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว 

ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
การรับประทานแครนเบอรี่ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่ม Flavonoids (แอนโธไซยานิน (Anthocyanin)), ฟลาโวนอล (Flavonols) และโปรแอนโธไซยานิดิน (Proanthocyanidins) ) โดยที่ Flavonoids จะไปยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของโคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) ทำให้ป้องกันการเกิด Oxidized LDL ที่เป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบและอุดตันได้ 
สารต้านอนุมูลอิสระจากแครนเบอรี่ สามารถเหนี่ยวนำให้ตัวรับ LDL ที่ตับทำงานมากขึ้น เป็นผลทำให้เพิ่มการขับออกของ LDL จากระบบไหลเวียนของเลือด และเพิ่มการนำโคเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ตับเพื่อขับออกได้ ทำให้ลดโคเลสเตอรอลได้ 

สุขภาพในช่องปาก
1. น้ำแครนเบอรี่มีส่วนประกอบของ High molecular weight non-dialyzable material (NDM) ซึ่งสามารถยับยั้งการยึดเกาะและการรวมตัวกันของแบคทีเรียในช่องปากหลายชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคทางช่องปาก การเกิดคราบหินปูน และจุลินทรีย์บนผิวฟันได้
2. Proanthocyanidins ที่ได้จากน้ำแครนเบอรี่เข้มข้นนั้น สามารถลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (Inflammatory mediator) ที่สร้างมาจากเซลล์ gingival fibroblasts เช่น Interleukin (IL-6,IL-8) และ PGE(2) ในโรคปริทันต์ (Periodontitis) เป็นผลให้สามารถลดขบวนการอักเสบได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีที่จะพัฒนาเป็นสารช่วยในการรักษาโรคปริทันต์ (Periodontitis) ต่อไป 

โรคมะเร็ง
1. Proanthocyanidins ที่พบมากใน Cranberry นั้น พบว่ามีการทดสอบในหลอดทดลองว่ามีผลในการทำลายเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ โดยจากการทดลองพบว่าการให้ Proanthocyanidins เดี่ยวๆ จะเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายลง (Apoptotic change) หรือเมื่อให้ร่วมกับยารักษามะเร็งรังไข่ (Paraplatin) จะเสริมฤทธิ์ยารักษาในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ 
2. การให้น้ำแครนเบอรี่วันละ 250 ml ร่วมกับการได้รับยาฆ่าเชื้อในกระเพาะอาหาร สามารถเพิ่มอัตราการทำลายเชื้อได้สูงขึ้นในเพศหญิงในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Helicobacter pylori (H.pylori ) ทั้งนี้  H.pylori เป็นเชื้อที่พบในกระเพาะอาหาร หากติดเชื้อเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
3. การให้น้ำแครนเบอรี่ 250 ml ในผู้ที่ติดเชื้อ H. pylori โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ ผลปรากฏว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำแครนเบอรี่ สามารถที่จะยับยั้งการติดเชื้อ H. pylori ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับน้ำแครนเบอรี่
4. Proanthocyanidins ที่พบมากใน Cranberry นั้น สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนมะเร็งและนำไปสู่การตายของเซลล์มะเร็งปอด (rapid induce of apoptosis) 
5. Cranberry ประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) โดยที่สารประกอบ Flavonoids (Proanthocyanidins) เป็นตัวที่กล่าวถึงในการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง (Apoptosis) โดยจากการศึกษาพบว่า Proanthocyanidins เป็นสารที่ยับยั้งกลไกการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหลายกลไก และพบว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป )

ข้อควรระวัง
การรับประทานน้ำแครนเบอรี่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปในผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า การรับประทานน้ำแครนเบอรี่มากกว่าวันละ 1.42 ลิตร มีผลทำให้มีโอกาสเลือดออกภายในได้ (Hemorrhage) อย่างไรก็ตาม หากรับประทานแต่น้อย จะไม่มีอันตราย เนื่องจากมีอีกงานวิจัยสนับสนุนว่าการรับประทานน้ำแครนเบอรี่ วันละ 240 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ในผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) ไม่มีอันตรายจากภาวะเลือดออกภายในแต่อย่างใด 


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความอาหารเสริมที่เกี่ยวข้อง